WeOmni

7 ข้อควรทำก่อนเปิด ร้านขายของชำ

กิจการอย่างแรก ๆ ที่เริ่มกันได้โดยง่ายมักหนีไม่พ้นงานค้าขาย โดยเฉพาะการตั้งร้านขายของชำ แม้จะฟังดูง่าย แต่การจะทำร้านให้ยืนหยั่งยาวนานท่ามกลางหลายปัจจัยนั้น ไม่ได้ง่ายๆ เลย อย่างไรก็ดี โอกาศที่จะตั้งตัวเลี้ยงดูตนเองได้และเติบโตในระดับท้องถิ่นก็มีให้เห็นเป็นจำนวนมากอยู่เช่นกัน โดยเฉพาะลูกค้าที่เลือกจะอุดหนุนเจ้าของกิจการรายย่อยเป็นหลัก เพื่อให้ร้านขายของชำของท่านเริ่มต้นด้านฐานที่ดี เราจะมากล่าวถึง 7 ปัจจัยหลักที่จะช่วยผู้ประกอบการเดินได้อย่างมั่นคงกันค่ะ

1. ดูที่ตั้งร้าน:

สิ่งแรกที่ต้องทำก่อนเลยนะคะ ก็คือเช็กสถานที่ตั้งร้านค้า ว่าทำเลในใจของท่านจะวางอยู่ตรงไหน สะดวกต่อผู้คนที่จะมาซื้อของมากน้อยแค่ไหน อยู่ในแหล่งชุมชนหรือไม่ ถ้าเป็นพื้นที่ห่างไกลบ้านเรือน ชุมชน แหล่งทำงาน/ศึกษา แหล่งท่องเที่ยว เช่นตั้งบนถนนเส้นหนึ่งที่เต็มไปด้วยไร่สวน ไร่นา ก็อาจจะยากจะทำกำไร เมื่อระบุที่ตั้งได้แล้ว สังเกตต่อว่าตรงละแวกนั้นมีร้านขายของชำอื่นๆ มั้ย หรือไปใกล้กับร้านสะดวกหรือเปล่า ถ้าใกล้ร้านแนวเดียวกัน ก็อาจจะไม่มีลูกค้ามาซื้อของนะคะ แนะนำเป็นแหล่งที่มีร้านค้าแบบอื่นคละกัน หรือเป็นร้านค้าประจำแหล่งชุมชม อย่างที่เค้าว่ากันไว้เลย ว่า “ทำเลดีมักมีชัยไปกว่าครึ่ง” เลยนะจ๊ะ

2. ศึกษาตลาด:

เมื่อได้ที่สถานที่ตั้งร้านค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ก็ถึงเวลาที่คุณจะต้องศึกษาตลาด วิเคราะห์กลุ่มลูกค้าในละแวกนั้นให้ดีๆ เพื่อที่คุณจะได้รู้ว่ากลุ่มลูกค้าของคุณนั้นเป็นแบบไหน และสินค้าแนวไหนจะเป็นที่นิยมในคนละแวกนี้บ้าง จริงอยู่ที่ต้องมีสินค้าคล้ายๆ กันในหลายร้านที่ต้องวางขาย เพราะผู้คนส่วนใหญ่คาดหวังจะซื้อหาได้ตามร้าน แต่ร้านขายของชำที่มักประสบความสำเร็จ มักพบอยู่สองส่วน ไม่ในเรื่องการให้บริการ ก็เรื่องการขายสินค้าที่ตรงจริตผู้คนในละแวกที่ท่านตั้งร้าน เช่นถ้าหมู่บ้านท่านมักเป็นชาวเกษตรกร การมีอุปกรณ์เสริมทางเกษตรกรรมก็ตอบโจทย์อย่างดีเลย ถ้าร้านใกล้โรงเรียน การเน้นสินค้ากลุ่มเครื่องเขียน ขนม น้ำ และมุมต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ก็เพิ่มโอกาสกว่า

3. เตรียมเงินทุน:

มาถึงขั้นตอนนี้ ทุกคนจะต้องระวังและรอบคอบให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เลยนะคะ โดยคุณจะต้องคำนวณต้นทุนที่จะต้องใช้ในการสร้างร้าน, การซื้อของเข้า และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่นี้เรามาดูกันว่าควรจะเริ่มคำนวนค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เช่น

  • ถ้าต้องก่อสร้างพื้นที่ร้านใหม่: งบเริ่มต้นที่ประมาณ 100,000 บาท ขึ้นไป
  • ต้องการเช่าพื้นที่การเปิดร้าน: งบเริ่มต้นที่ ประมาณ 50,000 – 100,000 บาท
  • ถ้ามีสถานที่อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องสร้างใหม่ ในกรณีนี้นั้นที่ไม่จำเป็นต้องคำนวนค่าสถานที่
  • งบประมาณในการสต็อกสินค้าสินค้าและอุปกรณ์: 50,000 – 80,000 บาท

และอย่างที่น้อง EGG บอกว่าจะต้องระวังเป็นอย่างมากเลยนะคะ ว่าคุณควร “เผื่อ” เงินทุน ไม่ควรเตรียมเงินทุนให้ตรงกับที่คุณได้คำนวณต้นทุนไว้เป๊ะๆ นะคะ เพราะสถานการณ์ที่ไม่คิดไม่ฝันอาจะเกิดขึ้นได้เสมอนะคะ

4. จดทะเบียน:

ก่อนที่คุณจะทำการเปิดร้านขายของนั้น คุณก็จะต้องทำการเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ อย่างถูกต้องตามกฏหมาย ที่ผู้ประกอบการไม่ว่าจะขนาดไหนต้องทำเรื่องอย่างเป็นทางการ โดยการไปแจ้งเรื่องขอจดทะเบียนพาณิชย์ที่ อบต. หรือเทศบาลในชุมชนของคุณ อย่าลืมเตรียเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนพาณิชย์ไปด้วยนะคะ ซึ่งเอกสารที่ต้องใช้นั้นประกอบไปด้วย:

  1. สำเนาบัตรประชาชน/ทะเบียนบ้านของเจ้าของหรือของผู้จัดการแล้วแต่กรณี
  2. หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้าน หรือสำเนาสัญญาเช่าโดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้ให้เช่า
  4. แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่
  5. หนังสือมอบอำนาจ/สำเนาบัตรประชาชนประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ
    สามารถดูเอกสารในการจดทะเบียนพาณิชย์ได้เพิ่มเติมจากเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เลย!

อ่อ ถ้าร้านจะขายสินค้าควบคุมอย่าง เหล้า เบียร์ บุหรี่ จะต้องขอใบอนุญาตจากกรมสรรพสามิตเพิ่มเติมต่างหาก โดยเฉพาะเงื่อนไขสำหรับอนุญาตต่างหากเพิ่มเติม สามารถศึกษาเพิ่มเติมที่นี่

5. หาซัพพลายเออร์:

ก่อนที่คุณจะทำการเปิดร้านขายของชำนั้น ก็ต้องหาซัพพลายเออร์คู่ค้าขายส่งที่ดี เช่น อยู่ใกล้ร้านหรือบริการจัดส่งรวดเร็วและถูก และต้องหาได้ในราคาที่ดี เพื่อจะได้ซื้อสินค้าเข้ามาขายได้ในราคาที่ต้นทุนไม่สูงเกินไป ที่บอกว่าคู่ค้า “ที่ดี” เพราะเราต้องเลี่ยงคู่ค้าฉ้อฉลที่อาจนำของราคาต่ำกว่าตลาดอย่างมาก ซึ่งจริงๆ อาจนำสินค้าของปลอมมาขาย ทำร้านเราเสียเครดิตดีไปได้นะคะ การหาหาซัพพลายเออร์ในราคาต้นทุนดี แปรผันกับการตั้งราคาโดยตรง เพื่อกรณีเราบวกส่วนต่างในราคาขายจริงแล้ว โดยมีหลักการคร่าว ๆ ได้ดังนี้

  • ควรจะบวกจากต้นทุนอย่างน้อย 10% แต่ไม่ควรพุ่งเกิน 20% จากราคาทุน
  • สินค้าที่มีฉลากราคาไม่ควรบวกเพิ่มเลย เพราะลูกค้าจะคาดหวังในราคาจำหน่ายที่ระบุ
  • สินค้าบางประเภทเป็นสินค้าควบคุม (ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542) อาจไม่ควรบวกจากราคาทุนมาก เนื่องจากอาจผิดกฏหมายควบคุมฯ ได้

ถ้าเกลี่ยกลุ่มสินค้าได้ดี เราจะมีโอกาศได้กำไรโดยยังคงราคาที่แข่งขันได้ แม้ไม่ได้จะหวังกำไรกอบกำ แต่ท่านควรคาดหวังไว้เพื่อจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายจิปาถะ อย่างค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าเช่า, ค่าพนักงาน และค่าแรงคุณเองเข้าไปด้วยนะคะ แต่ก็อย่าคิดแพงเกินไปนะคะ เดี๋ยวลูกค้าไม่เข้าร้านนะ ยิ่งยุคอีคอมเมิร์ซแบบนี้

6. เตรียมอุปกรณ์ร้าน:

ทำการซื้อชั้นวางสินค้า เค้าเตอร์ขาย ตู้แช่เย็น ตู้แช่แข็ง และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเปิดร้านค้าของของ อย่าลืมเลือกแบบสวยให้เข้ากับร้านด้วยนะคะ จะมือหนึ่งหรือมือสองก็แล้วแต่สะดวกท่านเลย และเมื่อได้อุปกรณ์มาครบครันแล้วนั้น ก็ทำการจัดร้านค้า และนำสินค้าขึ้นชั้นเพื่อพร้อมขายได้เลย ถามว่าต้องจัดร้านตกแต่งอลังการมั้ย ไม่หรอกค่ะ แต่อย่างน้อยควรมีอุปกรณ์ครอบคลุมความจำเป็นไว้ก่อน เอาแบบว่าเมื่อเปิดร้านวันแรกลูกค้าควรดูออกจากระยะไกล ว่าท่านเปิดร้านขายของชำ ลูกค้าเห็นว่ามีสินค้ามากมายรอให้ท่านแวะอุดหนุน ถ้ากิจการดีขึ้นค่อยอัปเกรดร้านกันไปค่ะ

7. ใช้ระบบการจัดการร้านค้า:

และสิ่งสุดท้ายที่ไม่ควรละเลย ก็คือการวางแผนจัดการระบบของร้านค้า ที่ไม่ว่าจะเป็น:

  • การดูแลคลังสินค้า อย่างการนับสต็อค
  • การจดบันทึกยอดขาย
  • การจัดการเงินสดหมุนเวียนภายในร้าน
  • การคำนวนสินค้าให้ถูกต้องเมื่อลูกค้ามาซื้อในจำนวนที่เยอะ
  • การออกใบเสร็จ หรือ ใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าบางท่าน

และอีกสารพัดอย่างที่ท่านต้องทำ ต้องวางแผน ต้องเตรียมข้อมูลไว้ยื่นภาษี ฯลฯ แต่ๆๆ น้อง EGG ขอแนะนำว่าถ้าอยากให้เรื่องนี้เป็นเรื่องง่ายอย่างกับปลอกกล้วยละก็ ทำการซื้อเครื่อง POS มาช่วยดูแลร้าน ทุ่นแรงได้มากเลยนะ และขอบอกเลยว่า เลือกผู้ช่วยร้านขายของชำ ต้องเลือก EGG POS จ้า ด้วยฟีเจอร์ของเครื่องที่มาพร้อมซอฟต์แวร์ที่ใช้งานง่ายเหมือนท่านกดเล่นมือถือเลย ช่วยท่านได้หลายอย่าง ถ้ากลัวว่าจะแพงไปหล่ะก็ เครื่อง EGG POS ของเรามีราคาที่เอื้อมถึงได้ คุ้มกว่าที่ท่านจะต้องเหนื่อยจดใส่กระดาษที่สบายตอนจด แต่ลำบากต้องรวบรวมข้อมูลนะคะ สนใจสั่งซื้อได้เลยที่ปุ่มด้านล่างนี้เลยค่ะ

ซื้อเลย ! ที่ร้าน EGGPOS บน