ไม่ว่าจะหันไปทางไหน เราก็จะพบ AI อยู่รายล้อมในชีวิตประจำวันเราอยู่แทบจะในทุกอุตสาหกรรมแล้ว ด้วยความก้าวหน้าทั้งในเชิงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการใช้งาน AI จึงมีนำเอา AI มาใช้เป็นโซลูชั่นต่างๆเพื่อตอบโจทย์และต่อยอดให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสายงานด้าน IT ที่มักจะได้ใช้ประโยชน์โดยตรงจาก AI ในหลากหลายแง่มุม ซึ่งบทความนี้จะยกเอาตัวอย่างกรณีเด่นมาในการใช้ AI ในสาย IT มา 4 ส่วน หลักๆ ด้วยกัน ดังนี้
1. การพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development)
ด้วยความสามารถด้านการประมวลข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ AI ถูกนำมาช่วยในการพัฒนาซอฟต์แวร์ในหลายๆ ด้าน ดังที่เห็นได้อย่างแพร่หลายและชัดเจนที่สุดก็คือ ChatGPT ซึ่งเป็นระบบ Generative AI ที่ใช้โต้ตอบคำถามได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงระบบ Generative AI อื่นๆ ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทเฉพาะทางเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์มากขึ้น เช่น การ coding จากการพิมพ์ประโยคบอกเล่าอย่างละเอียด หรือการให้ AI วิเคราะห์และแนะนำวิธีการทดสอบระบบบนฐานจาก requirement การใช้งาน AI ในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ นอกจากจะทำให้การพัฒนาเร็วขึ้น หลายครั้งยังช่วยเพิ่มคุณภาพของซอฟต์แวร์ได้อีกด้วย
2. การดูแลและบำรุงระบบไอที (IT Infrastructure Monitoring and Maintenance)
ข้อมูลหลายร้อยเทราไบต์ ที่ทำงานประสานกันอย่างซับซ้อนในระบบนำทางอย่าง Google Maps, การสั่งอาหารผ่านแอป รวมถึงการจัดการด้านการเงินผ่านระบบธนาคารในระบบ นั้นต้องดูแลรักษาระบบดังกล่าวเพื่อการใช้งานที่เต็มประสิทธิภาพอยู่เสมอเพราะผลกระทบจากการขัดข้องของระบบจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ใช้นับล้านราย ซึ่งเป็นอีกบทบาทหนึ่งของ AI ที่เข้ามาช่วยวิศวกรดูแลรักษาระบบ ในการวิเคราะห์ความผิดปกติ (anomaly) จากรูปแบบข้อมูลและตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่รวดเร็ว จึงช่วยลดโอกาสที่ระบบจะขัดข้องก่อนที่ผู้ใช้งานจะได้ผลกระทบ ซึ่งการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ AI ในระยะหลัง ทำให้การวิเคราะห์ปัญหาทำได้แม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น แล้วช่วยลดเหตุการณ์ Downtime ได้เป็นอย่างดี
3. การดูแลรักษาความปลอดภัย (Cybersecurity)
ด้วยความสามารถในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ การนำ AI เข้ามาใช้ในการรักษาความปลอดภัยของระบบจึงช่วยให้นักวิเคราะห์สามารถตรวจจับรูปแบบการโจมตีในระบบ หรือคาดการณ์สถานการณ์ที่มีความเป็นไปได้ เพื่อช่วยลดช่องโหว่ก่อนที่การโจมตีจะเกิดขึ้นได้จริง
4. เครื่องมือสำหรับเพิ่มผลผลิตในการทำงาน (AI Productivity Tools)
ไม่นานหลังจากการเปิดตัวแบบสะเทือนวงการของ ChatGPT ก็เริ่มมีเครื่องมือใหม่ๆ ที่ใช้ความสามารถของ AI มากขึ้น เช่น การสรุปข้อมูลสำคัญจากการประชุม การสร้างการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงผู้ช่วยส่วนตัวที่พร้อมจะให้คำตอบจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยลดระยะเวลา ความผิดพลาด และภาระในการทำงานของ Developer ลง แต่ให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและเที่ยงตรงมากขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม AI ที่ถูกใช้งานอยู่ในปัจจุบันสำหรับสายงาน IT นั้น ยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่สามารถต่อยอดไปได้อีกมากมาย ด้วยความรวดเร็วในการทำงานที่สามารถย่นเวลาในแต่ละงานลงได้ และให้ผลลัพท์ที่แม่นยำสูง การเลือกหาและการนำ AI เข้ามาใช้งานใน Workflow ได้อย่างเหมาะสมจึงสร้างความได้เปรียบทางด้านธุรกิจของท่านได้เป็นอย่างดี หากท่านสนใจนำเอา AI เข้าไปช่วยพัฒนา Workflow ที่มีอยู่แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะช่วยในส่วนใดได้บ้างก็สามารถติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวขาญของเราได้ฟรีทันที
>>ที่นี่<<
ติดตามข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของเราได้ที่ช่องทาง Facebook Fanpage, Linkedin หรือดูข้อมูลและติดต่อรับคำปรึกษาได้ที่เว็บไซต์ของเรา