WeOmni

คุณณัฐพล รังสิยากูล จาก Ascend Commerce ได้รับเชิญในฐานะ Guest Speaker ในการเสวนา หัวข้อ “สร้างองค์กรเป็นมิตรต่อสุขภาพจิต เลี่ยงภาวะ Burnout ของพนักงาน” ในงาน Grand Opening “Mind Wellness Center”

คุณณัฐพล รังสิยากูล (คุณนัท) Vice President of Engineering (eCommerce) จาก WeOmni ธุรกิจภายใต้ Ascend Commerce ได้รับเชิญในฐานะ Guest Speaker ในการเสวนา หัวข้อ “สร้างองค์กรเป็นมิตรต่อสุขภาพจิต เลี่ยงภาวะ Burnout ของพนักงาน” ในงาน Grand Opening “Mind Wellness Center” Healthy Mind Balanced Life ณ สถาบันสุขภาพและความงามตรัยญา เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา

ภาวะเหนื่อยหน่าย หรือ Burnout นั้นไม่ได้เกิดขึ้นได้ภายในชั่วข้ามคืน แต่มักจะเกิดจากการสะสมความไม่สบายทั้งกายและใจของบุคคลากรมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมักจะมีสัญญาณบ่งบอกให้เห็นถึงความเครียดและความกดดันของบุคคลากรก่อนจะไปถึงจุดที่ Burnout สำหรับองค์กรที่มีความรับผิดชอบและเอาใจใส่ต่อบุคคลากรนั้น มักจะมีการดำเนินการเชิงรุก (Proactive) ที่สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการทำงาน เพื่อเลี่ยงสถานการณ์ที่สร้างความรู้สึกน่าเบื่อหน่อยท้อแท้ของบุคคลากร โดยการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดของบุคคลากรในองค์กร รวมถึงความสัมพันธ์และรูปแบบการทำงานที่ปรับเข้าหากันของหัวหน้างานและผู้ปฎิบัติงานทั้งในแง่มุมของการทำงานและการพัฒนาศักยภาพบุคคลากร ร่วมไปกับการสำรวจความพึงพอใจของบุคคลากรเพื่อให้รู้ถึงความต้องการที่แท้จริง ไปจนถึงการกำหนดความคาดหวังในเนื้องานที่ชัดเจนเพื่อให้แน่ใจว่าบุคคลากรแต่ละคนรู้ขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบของตัวเอง นอกจากนี้การให้อิสระในการกำหนดรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น เช่น การกำหนดเวลาทำงานที่ยืดหยุ่นตามการใช้ชีวิต และการทำงานนอกออฟฟิศ (remote work) ยังสามารถช่วยให้บุคคลากรสร้างสมดุลระหว่าง Work และ Life ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งช่วยลดภาวะการ Burnout ลงได้

การให้ความสำคัญและกำหนดนโยบายเพื่อเลี่ยงภาวะ Burnout จะช่วยให้สภาพแวดล้อมการทำงานของบุคคลากรดีมากขึ้นในระยะยาว เช่น กำหนดเพดานชั่วโมงทำงานล่วงเวลาสูงสุด (OT) เอาไว้ และส่งเสริมให้พนักงานใช้วันลาพักร้อนให้มากที่สุด มีสวัสดิการเพื่อสุขภาพ เช่น ห้องออกกำลังกายหรือคลาสโยคะ รวมถึงการจัดเวิร์คช็อปเพื่อจัดการความเครียด ด้วยวิธีเหล่านี้ก็จะสามารถช่วยรักษาวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีของบุคคลากรได้

บรรยากาศในการทำงานและความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงานโดยเฉพาะของหัวหน้างานและระดับปฎิบัติการที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดกันนั้น จะช่วยป้องกันภาวะ Burnout ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการสื่อสารระหว่างกันและการรับฟังความคิดเห็นกันอย่างเข้าใจกัน เช่น ส่งเสริมให้หัวหน้างานและผู้ปฎิบัติการนัดพูดคุยแบบตัวต่อตัวอย่างสม่ำเสมอ และเปิดช่องทางเพื่อพูดถึงสาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดภาวะ Burnout แบบไม่ระบุตัวตนรวมถึงการจัดตั้งโครงการช่วยเหลือพนักงาน (Employee Assistance Programs: EAP) เป็นพื้นที่ให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยในการเล่าปัญหาส่วนตัวหรือประเด็นความไม่สบายใจที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำอยู่

มาตรการเชิงรุก ในการให้ความรู้และความเข้าใจในสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็มีส่วนสำคัญในการช่วยลดภาวะ Burnout ของบุคคลากรลงได้ เช่น การจัดตั้งเวิร์กช็อปเกี่ยวกับการรับมือกับความเครียด และความยืดหยุ่นในการบริหารเวลา การส่งเสริมให้มีการพัฒนาความรู้ในสายงานก็จะช่วยเพิ่มความมั่นใจและความพึงพอใจในการทำงาน รวมถึงการให้โอกาสในการพัฒนาทางอาชีพและช่วยให้บุคคลากรมองเห็นอนาคตในองค์กร จนสามารถเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการทำงาน

การปรับปริมาณงานและหน้าที่ความรับผิดชอบให้เหมาะสมก็สามารถช่วยป้องกันภาระงานมากเกินไปและช่วยลดช่องว่างของทักษะของบุคคลากรลงได้ เช่น การฝึกอบรมพนักงานข้ามสายงาน เพื่อให้เกิดความสามารถในการจัดการงานและรับมือกับรูปแบบงานหลากหลายประเภท รวมไปถึงการจ้างพนักงานชั่วคราวมาช่วยจัดการในช่วงที่มีปริมาณงานมากกว่าปกติก็ช่วยลดโหลดที่มากเกินจะรับได้ของบุคคลากรที่มีอยู่ได้

หลังจากที่ได้ดำเนินการตามมาตรการต่างๆแล้ว การหมั่นติดตามความคืบหน้าของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับบุคคลากร และติดตาม KPI ที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราการลาออก การขาดงาน และประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อวัดประสิทธิผลของความพยายามในการป้องกันภาวะ Burnout

การยกย่องและให้รางวัลบุคคลากรที่ทุ่มเทในการทำงาน และการให้ผลตอบแทนโปรแกรมเพื่อจูงใจพนักงานให้รักษาสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานซึ่งจะช่วยเพิ่มกำลังใจและแรงจูงใจได้

สุดท้ายนี้การเป็นแบบอย่างมีผลมากกว่าคำพูด… จัดการฝึกอบรมความเป็นผู้นำเพื่อให้แน่ใจว่าหัวหน้างานเป็นผู้นำแบบอย่างให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ส่งเสริมให้ผู้นำระดับสูงสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดีเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงาน ด้วยการทำตามขั้นตอนเชิงรุกเหล่านี้ คุณสามารถป้องกันความเหนื่อยหน่ายและสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สนับสนุนซึ่งส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีและประสิทธิภาพการทำงาน 

 

ติดตามข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของเราได้ที่ช่องทาง Facebook FanpageLinkedin หรือดูข้อมูลและติดต่อรับคำปรึกษาได้ที่เว็บไซต์ของเรา