WeOmni

คุณณัฐพล รังสิยากูล จาก Ascend Commerce ได้รับเชิญในฐานะ Guest Speaker ในการเสวนา หัวข้อ “สร้างองค์กรเป็นมิตรต่อสุขภาพจิต เลี่ยงภาวะ Burnout ของพนักงาน” ในงาน Grand Opening “Mind Wellness Center”

คุณณัฐพล รังสิยากูล (คุณนัท) Vice President of Engineering (eCommerce) จาก WeOmni ธุรกิจภายใต้ Ascend Commerce ได้รับเชิญในฐานะ Guest Speaker ในการเสวนา หัวข้อ “สร้างองค์กรเป็นมิตรต่อสุขภาพจิต เลี่ยงภาวะ Burnout ของพนักงาน” ในงาน Grand Opening “Mind Wellness Center” Healthy Mind Balanced Life ณ สถาบันสุขภาพและความงามตรัยญา เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา

ภาวะเหนื่อยหน่าย หรือ Burnout นั้นไม่ได้เกิดขึ้นได้ภายในชั่วข้ามคืน แต่มักจะเกิดจากการสะสมความไม่สบายทั้งกายและใจของบุคคลากรมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมักจะมีสัญญาณบ่งบอกให้เห็นถึงความเครียดและความกดดันของบุคคลากรก่อนจะไปถึงจุดที่ Burnout สำหรับองค์กรที่มีความรับผิดชอบและเอาใจใส่ต่อบุคคลากรนั้น มักจะมีการดำเนินการเชิงรุก (Proactive) ที่สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการทำงาน เพื่อเลี่ยงสถานการณ์ที่สร้างความรู้สึกน่าเบื่อหน่อยท้อแท้ของบุคคลากร โดยการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดของบุคคลากรในองค์กร รวมถึงความสัมพันธ์และรูปแบบการทำงานที่ปรับเข้าหากันของหัวหน้างานและผู้ปฎิบัติงานทั้งในแง่มุมของการทำงานและการพัฒนาศักยภาพบุคคลากร ร่วมไปกับการสำรวจความพึงพอใจของบุคคลากรเพื่อให้รู้ถึงความต้องการที่แท้จริง ไปจนถึงการกำหนดความคาดหวังในเนื้องานที่ชัดเจนเพื่อให้แน่ใจว่าบุคคลากรแต่ละคนรู้ขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบของตัวเอง นอกจากนี้การให้อิสระในการกำหนดรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น เช่น การกำหนดเวลาทำงานที่ยืดหยุ่นตามการใช้ชีวิต และการทำงานนอกออฟฟิศ (remote work) ยังสามารถช่วยให้บุคคลากรสร้างสมดุลระหว่าง Work และ Life ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งช่วยลดภาวะการ Burnout ลงได้

การให้ความสำคัญและกำหนดนโยบายเพื่อเลี่ยงภาวะ Burnout จะช่วยให้สภาพแวดล้อมการทำงานของบุคคลากรดีมากขึ้นในระยะยาว เช่น กำหนดเพดานชั่วโมงทำงานล่วงเวลาสูงสุด (OT) เอาไว้ และส่งเสริมให้พนักงานใช้วันลาพักร้อนให้มากที่สุด มีสวัสดิการเพื่อสุขภาพ เช่น ห้องออกกำลังกายหรือคลาสโยคะ รวมถึงการจัดเวิร์คช็อปเพื่อจัดการความเครียด ด้วยวิธีเหล่านี้ก็จะสามารถช่วยรักษาวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีของบุคคลากรได้

บรรยากาศในการทำงานและความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงานโดยเฉพาะของหัวหน้างานและระดับปฎิบัติการที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดกันนั้น จะช่วยป้องกันภาวะ Burnout ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการสื่อสารระหว่างกันและการรับฟังความคิดเห็นกันอย่างเข้าใจกัน เช่น ส่งเสริมให้หัวหน้างานและผู้ปฎิบัติการนัดพูดคุยแบบตัวต่อตัวอย่างสม่ำเสมอ และเปิดช่องทางเพื่อพูดถึงสาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดภาวะ Burnout แบบไม่ระบุตัวตนรวมถึงการจัดตั้งโครงการช่วยเหลือพนักงาน (Employee Assistance Programs: EAP) เป็นพื้นที่ให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยในการเล่าปัญหาส่วนตัวหรือประเด็นความไม่สบายใจที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำอยู่

มาตรการเชิงรุก ในการให้ความรู้และความเข้าใจในสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็มีส่วนสำคัญในการช่วยลดภาวะ Burnout ของบุคคลากรลงได้ เช่น การจัดตั้งเวิร์กช็อปเกี่ยวกับการรับมือกับความเครียด และความยืดหยุ่นในการบริหารเวลา การส่งเสริมให้มีการพัฒนาความรู้ในสายงานก็จะช่วยเพิ่มความมั่นใจและความพึงพอใจในการทำงาน รวมถึงการให้โอกาสในการพัฒนาทางอาชีพและช่วยให้บุคคลากรมองเห็นอนาคตในองค์กร จนสามารถเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการทำงาน

การปรับปริมาณงานและหน้าที่ความรับผิดชอบให้เหมาะสมก็สามารถช่วยป้องกันภาระงานมากเกินไปและช่วยลดช่องว่างของทักษะของบุคคลากรลงได้ เช่น การฝึกอบรมพนักงานข้ามสายงาน เพื่อให้เกิดความสามารถในการจัดการงานและรับมือกับรูปแบบงานหลากหลายประเภท รวมไปถึงการจ้างพนักงานชั่วคราวมาช่วยจัดการในช่วงที่มีปริมาณงานมากกว่าปกติก็ช่วยลดโหลดที่มากเกินจะรับได้ของบุคคลากรที่มีอยู่ได้

หลังจากที่ได้ดำเนินการตามมาตรการต่างๆแล้ว การหมั่นติดตามความคืบหน้าของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับบุคคลากร และติดตาม KPI ที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราการลาออก การขาดงาน และประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อวัดประสิทธิผลของความพยายามในการป้องกันภาวะ Burnout

การยกย่องและให้รางวัลบุคคลากรที่ทุ่มเทในการทำงาน และการให้ผลตอบแทนโปรแกรมเพื่อจูงใจพนักงานให้รักษาสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานซึ่งจะช่วยเพิ่มกำลังใจและแรงจูงใจได้

สุดท้ายนี้การเป็นแบบอย่างมีผลมากกว่าคำพูด… จัดการฝึกอบรมความเป็นผู้นำเพื่อให้แน่ใจว่าหัวหน้างานเป็นผู้นำแบบอย่างให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ส่งเสริมให้ผู้นำระดับสูงสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดีเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงาน ด้วยการทำตามขั้นตอนเชิงรุกเหล่านี้ คุณสามารถป้องกันความเหนื่อยหน่ายและสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สนับสนุนซึ่งส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีและประสิทธิภาพการทำงาน 

 

ติดตามข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของเราได้ที่ช่องทาง Facebook FanpageLinkedin หรือดูข้อมูลและติดต่อรับคำปรึกษาได้ที่เว็บไซต์ของเรา

Introduction to GitHub Copilot: ให้ AI ช่วยเขียนโค้ด

อะไรคือ Copilot

GitHub Copilot เป็นระบบเขียนโปรแกรมกึ่งอัตโนมัติ ทำงานอิงจากโค้ดหรือสิ่งที่เราอธิบายความต้องการ พัฒนาโดย GitHub ร่วมกับเทคโนโลยีหลักด้าน AI จาก OpenAI ที่มีประวัติการพัฒนา AI อันโด่งดัง อย่างเช่น ChatGPT ที่มีศักยภาพสูงในการช่วยเหลือตอบคำถาม หรือแนะนำการเขียนต่างๆ รวมถึงช่วยให้นักพัฒนาสามารถเขียนโค้ด
Copilot ถูกพัฒนาในแนวคิดว่าเป็น ‘AI pair programmer,’ ‘AI assistant,’ หรือ ‘Copilot’ คือตั้งใจให้มาเป็นผู้ช่วยโปรแกรมเมอร์นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม นักพัฒนายังจำเป็นต้องมาเขียนโค้ดเอง เพื่อให้ระบบทำงานอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพตามเจตจำนง เพราะ AI ยังไม่สามารถเขียนโค้ดได้ตรงตามวัตถุประสงค์ อย่างสมบูรณ์โดยตัวมันเอง

สำหรับการใช้ GitHub Copilot นี้ สามารถใช้ผ่าน IDE ต่าง ๆ เช่น Visual Studio, Visual Studio Code, Neovim, และ JetBrains IDEs (IntelliJ, PyCharm, WebStorm, เป็นต้น) รวมถึงรองรับภาษาโปรแกรมมิ่งหลายภาษา เช่น Java, PHP, Python, JavaScript, Ruby, Go, C#, หรือ C++ โดยที่ไม่จำเป็นต้องทำผ่านหน้า GitHub ในการใช้ Copilot เสมอไป เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่าง IDE ที่รองรับกับ GitHub Copilot

ติดตั้ง Copilot

  • ทำการติดตั้ง Github Copilot เข้าใน IDE ที่ท่านใช้งานก่อน โดยในกรณีของผู้เขียนนั้น จะใช้ Visual Studio Code กับโค้ดด้วยภาษา Golang

  • เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อย จะปรากฏไอคอนมุมล่าง Copilot เท่านี้ก็พร้อมใช้งานแล้ว
  • Github Copilot นั้นเป็นส่วนเสริมของ Github ที่มีการคิดเงิน (Subscription)
    แต่เราสามารถทดลองใช้บริการฟรี 30 วัน โดยท่านต้องมี Account ของ Github (ฟรี) แล้วสมัครเปิดใช้ Copilot ให้เรียบร้อยเสียก่อน
    (วิธีการเปิดใช้ Copilot คลิก )
  • หลังจากนั้น Log-In ตัว Account ของ Github ที่สมัคร Copilot บน IDE ของท่านด้วย ID ในข้อ 3

เริ่มลองใช้ Copilot

Copilot จะทำงานอยู่เบื้องหลังตลอดเวลา เราสามารถพิมพ์ Comment เพื่อเรียกใช้งาน Copilot อย่างเจาะจง หรือรอดูที่ Copilot แนะนำ โดยระหว่างที่ท่านทำการ Coding ไประยะหนึ่ง Copilot อาจแนะนำ Code มา โดยจะแสดงเป็นสีเทาให้ ซึ่งจะแนะนำได้ทั้งในรูปแบบรายบรรทัด (Individual lines) หรือมาเป็นก้อนฟังก์ชั่น (Whole functions) เลยทีเดียว ว่าแล้วก็มาลองกันเลย

ในตัวอย่างนี้ ผู้เขียนจะทดลองสร้างฟังก์ชั่นการสุ่มตัวเลขกัน (Random Number)

จะเห็นได้ว่าระหว่างพิมพ์ Code จะมีก้อน text สีเทาๆ นั่นคือสิ่งที่ Copilot พยายาม Suggest แนะนำและช่วยเราเขียน หากเราจะเอาสิ่งที่ Copilot แนะนำ ให้กด Tab บนคีย์บอร์ด

เราจะมาลองเล่นกันอีกสักหนึ่งฟังก์ชั่นดู ว่า Copilot จะรู้จัก Palindrome มั้ยเอ่ย ?

หากกรณี Copilot มีตัวเลือกจะแนะนำเรามากกว่า 1 ชุด เราก็สามารถเลือกดูได้ ว่าจะเลือก code ตัวไหนที่ระบบแนะนำ ออกมาใช้ โดยกดคีย์ลัดตามภาพ

คีย์ลัดกดดูคำแนะนำ ขึ้นกับระบบปฏิบัติการที่เลือกใช้

เรามาลองดู Copilot ช่วยเขียนทั้งในแบบ individual line และ multi line กัน

ในส่วนความสามารถของ Copilot ยังเข้ามาช่วยมีอะไรอีกมากเลย ทั้งการช่วยเขียน Query, Unit test, Model, Review code ฯลฯ แต่เกรงว่าจะยาวไปสำหรับบทความทำการแนะนำให้รู้จักนี้ เอาไว้ทีมงานจะมาเล่าต่อกับ Tool ช่วยเหลือโปรแกรมเมอร์นี้ในโอกาสถัดไป

 

ติดตามข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของเราได้ที่ช่องทาง Facebook FanpageLinkedin หรือดูข้อมูลและติดต่อรับคำปรึกษาได้ที่เว็บไซต์ของเรา

Serverless Framework: AWS Lambda and API Gateway

Serverless Framework คือ Web framework ที่เขียนด้วย Node.js ใช้สำหรับสร้างแอปพลิเคชันบน AWS Lambda และบน Cloud แบบ Serverless หลากหลายเจ้า ซึ่งเป็นเครื่องมือโอเพ่นซอร์สแบบ CLI (Command Line Interface) ที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง, ระบบ Automation และเป็นโซลูชั่นที่ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด โดย Developer จะโฟกัสไปที่การสร้างแอปพลิเคชันอย่างเต็มที่ ส่วนงานระบบ Infrastructure นั้นจะเป็นหน้าที่ของ Cloud Provider

ทำไมต้องใช้ Serverless Framework?

  • ใช้งานง่าย: Config ระบบ Infrastructure และ Services ได้ผ่านไฟล์ serverless.yml ไฟล์เดียว
  • รวดเร็ว: ด้วยความเป็นระบบอัตโนมัติ ทำให้การ Deployment ของ App ทำได้รวดเร็ว
  • รองรับ Cloud หลายเจ้า: Serverless Framework รองรับการใช้งานกับ Cloud Provider ส่วนใหญ่ในตลาด เช่น Azure, Google Cloud ฯลฯ
  • ต่อยอดความสามารถได้ง่าย: ผ่านการติดตั้ง Plugins เพิ่มเติมตามความต้องการของธุรกิจ
  • มีกลุ่มผู้ใช้งานมากมาย: ด้วยความเป็นโอเพ่นซอร์ส ทำให้เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ใช้งาน และมี Plugins พัฒนาออกมาเพื่อรองรับเพิ่มเติมอย่างมากมาย
  • มี Monitoring และ Debugging ในตัว: ในระบบมีส่วน Monitoring, Metrics, และ Debugging มาให้ Developer ใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น

ข้อดี-ข้อเสีย ในการใช้ Serverless Framework ร่วมกับ AWS Lambda ผ่าน API Gateway

ข้อดี

  • ใช้เวลา Deployment สั้นลง: Deploying Service ต่อครั้งสั้นลง ด้วยการใช้คำสั่งเพียงชุดเดียว ช่วยลดเวลาในการ Config ลง
  • ไม่ยึดติดกับภาษาใดๆ: ตัว Framework รองรับ Programming languages หลากหลายภาษา
  • มีโครงสร้างระบบที่ชัดเจน: มีโครงสร้างระบบที่ดี ทั้ง Versioning, Stages, Environment variables ช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงาน
  • Code ใช้ซ้ำได้: นำ Code ที่เคยเขียนของงานหนึ่ง เอาไปใช้ต่อของอีกงานหนึ่งที่ใช้ ​​Services, Components, Plugins คล้ายคลึงกันได้ทันที
  • Multi-Cloud: รองรับ Cloud Provider หลายหลายเจ้าในท้องตลาด เพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้งาน
  • Plugin มากมาย: ช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับแต่งฟังก์ชั่นการทำงานให้ตรงโจทย์ของธุรกิจ

ข้อเสีย

  • Learning Curve: ต้องใช้เวลาเรียนรู้เพิ่มเติมบางเรื่อง เพื่อเข้าใจการ Config และ Syntax ของ serverless.yml
    ไม่รองรับบางฟีเจอร์: เนื่องจากสามารถใช้งานร่วมกับ Cloud หลากหลายที่ ดังนั้นบางฟีเจอร์อาจไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • การ Debugging ที่ซับซ้อน: ด้วยลักษณะโครงสร้างที่แตกย่อยออกมา ทำให้การ Debugging นั้นมีความซับซ้อนมากขึ้น
  • ต้นทุนสูง: ในฟังก์ชั่นงานที่ต้องใช้เวลา Run นาน อาจมีราคาแพงเนื่องจากลักษณะ Pricing model ที่จับเวลาต่อ Request เอง
  • Cold Starts: ในส่วนของ AWS Lambda อาจมีความหน่วงเมื่อเรียกใช้ฟังก์ชัน (Cold Starts) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับทรัพยากรที่เชื่อมต่อแบบ VCP (Virtual Private Cloud)

บทสรุป

ตัว Serverless Framework มีความสะดวกในการใช้งาน และมีศักยภาพสูง รวมถึงมีฟีเจอร์ที่หลากหลาย จึงกลายเป็นโซลูชั่นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน โดยเฉพาะบน AWS ด้วย Lambda และ API Gateway ที่สนับสนุนให้แอปพลิเคชันแบบ Serverless นั้นสามารถสเกลขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าต่อธุรกิจมากที่สุด

 

ติดตามข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของเราได้ที่ช่องทาง Facebook FanpageLinkedin หรือดูข้อมูลและติดต่อรับคำปรึกษาได้ที่เว็บไซต์ของเรา

Generative AI and ChatGPT4: The Future of Personalized eCommerce and Supply Chain

“Generative AI” และ “ChatGPT” เทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาพัฒนาธุรกิจและสร้างประสบการณ์อีคอมเมิร์ซที่ดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมให้กับ User ที่มาพร้อมความ Personalized เพื่อเฉพาะเจาะจงไปที่กลุ่ม User ได้ดียิ่งขึ้น มาดูกันว่าทั้ง 2 เทคโนโลยีนี้ จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจ eCommerce และสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจของคุณได้อย่างไร…

“Generative AI” คือแบบจำลอง AI ที่ใช้ในการสร้าง Conent ขึ้นมาใหม่ เช่น รูปภาพ ข้อความ เพลง และคำอธิบายสินค้า รวมถึงการสร้างแคมเปญการตลาดแบบ Personalized รวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ก็เป็นเรื่องที่ AI สามารถทำได้ โดยเราสามารถใช้ Generative AI แนะนำสินค้าให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้าแต่ละบุคคล โดยหยิบ Data จากประวัติการซื้อ พฤติกรรมการเลือกดูสินค้า หรือการค้นหาสินค้าที่ผ่านมา หรือแม้แต่การนำพิกัดตำแหน่งที่ User อยู่มาใช้ร่วมกัน เพื่อให้ตรงใจลูกค้ามากที่สุด จนเกิดเป็นความพึงพอใจในระยะยาวของลูกค้าได้

ในขณะที่ “ChatGPT” เป็น Chat Bot ใช้ถามตอบที่ให้ผลลัพธ์เหมือนการพูดคุยกับมนุษย์ ด้วยการฝึกตัวระบบด้วยข้อมูลต่าง ๆ และโค้ดจำนวนมหาศาล เพื่อให้ระบบเข้าใจและสามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้องและราบรื่น โดย Version ล่าสุดอย่าง ChatGPT4 นั้นได้รับการพัฒนาจนสามารถใช้เพื่อบริการลูกค้า ตอบคำถาม และให้คำแนะนำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น Chat Bot ChatGPT4 สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับสินค้าหรือการบริการ, กระบวนการชำระเงิน หรือช่วยแนะนำวิธีแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้กับลูกค้าได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดงานของฝ่ายบริการลูกค้าแล้วยังเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการที่ดีมากยิ่งขึ้น

เมื่อใช้ทั้ง “Generative AI” และ “ChatGPT4” ร่วมกัน จึงเกิดเป็นสร้างประสบการณ์ใหม่ของการใช้งานอีคอมเมิร์ซที่ Personalized และ Engaging ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังถูกนำไปใช้ในระบบ Supply Chain ในการปรับปรุงประสิทธิภาพและก่อให้เกิด Productivity ที่ดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

Use Cases ในการใช้ Generative AI และ ChatGPT4 ใน B2B2C อีคอมเมิร์ซยุคใหม่

  • แสดงสินค้าแบบ Personalized: Generative AI สามารถแสดงให้ Personalized เฉพาะ User โดยประมวลผลจากประวัติการซื้อ พฤติกรรมการดูสินค้า ชื่อสินค้าที่เคยค้นหา หรือแม้แต่พิกัดตำแหน่งที่ใช้งาน ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซใช้ Generative AI เพื่อแนะนำสินค้าที่คล้ายกับสิ่งที่ลูกค้าเคยซื้อมาก่อน หรือแนะนำอุปกรณ์เสริมที่ใช้ร่วมกันสินค้านั้นๆ รวมถึงการแสดงสินค้าที่ถูกจัดเรียงมาพิเศษเพื่อลูกค้ารายนั้นๆ
  • บริการลูกค้า: ChatGPT4 สามารถตอบคำถามเบื้องต้นให้กับลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยให้ฝ่ายบริการลูกค้าไปโฟกัสใน Case ที่ซับซ้อนมากกว่าแทน ตัวอย่างเช่น Chat Bot ChatGPT4 ตอบคำถามเกี่ยวกับสินค้าเบื้องต้น เช่น มีสินค้าในสต๊อกอยู่รึไม่ จัดส่งกี่วัน หรือช่วยเหลือในขั้นตอนการชำระเงินได้
  • Marketing Campaigns: Generative AI ใช้สร้างแคมเปญการตลาดแบบ Personalized ตามความสนใจ ช่วยเจาะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและใช้งบการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เว็บอีคอมเมิร์ซใช้ Generative AI สร้างแคมเปญการตลาดทางอีเมล ที่ปรับเปลี่ยนโปรโมชั่นให้เข้ากับความสนใจของ User แต่ละบุคคล
  • เพิ่มประสิทธิภาพของ Supply chain: Generative AI ถูกใช้ในการคาดการณ์ยอดขาย การจัดการสต๊อก (inventory) และการจัดส่งสินค้า เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ
    ตัวอย่างเช่น Generative AI สามารถคาดการณ์แนวโน้มของสินค้า เพื่อให้ธุรกิจสามารถจัดการสต๊อกได้อย่างเหมาะสม
  • ตรวจจับการทุจริตและ Compliance: ChatGPT4 สามารถใช้ตรวจจับการทุจริต (fraud) ในสายงาน eCommerce และ Supply chain ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น Chat Bot สามารถเรียนรู้รูปแบบหรือพฤติกรรมที่น่าสงสัย ช่วยป้องกันการเกิดการทุจริตได้ นอกจากนี้ Generative AI ยังสามารถใช้เพื่อตรวจจับความเสี่ยงของ Compliance risks ใน Supply chain ได้
  • คาดการณ์ความต้องการสินค้า: Generative AI สามารถคาดการณ์ความต้องการของสินค้าได้อย่างแม่นยำ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้า และหลีกเลี่ยงการสต๊อกสินค้าที่มากหรือน้อยเกินไป ตัวอย่างเช่น Generative AI สามารถคาดการณ์จำนวนสินค้าที่จะขายได้ในเดือนถัดๆ ไป โดยประมวลผลจากข้อมูลการขายในอดีตและปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ที่ได้จากการใช้ Generative AI และ ChatGPT4 ในอีคอมเมิร์ซยุคใหม่แบบ B2B2C

  • Personalization: ประมวลผลข้อมูลและนำไปแสดงผลเพื่อสร้างประสบการณ์การช็อปปิ้งที่ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น จนเกิดเป็นความพึงพอใจและความ Loyalty ของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น
  • Efficiencies /Time optimization: เพิ่มประสิทธิภาพใน Workflow ให้ดียิ่งขึ้น ให้พนักงานมีอิสระในงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น และมีเวลาไปรับโฟกัสกับงานที่ซับซ้อนได้ดียิ่งขึ้น
  • Scalability: รองรับการเติบโตของระบบและธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมรับมือกับ Data และ Traffic จำนวนมหาศาลที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับธุรกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
  • Cost-effectiveness: มีค่าใช้จ่ายในระบบไม่สูงมากและให้ผลลัพท์ที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับธุรกิจทุกขนาด ตัวอย่างเช่น ธุรกิจ SME ก็สามารถใช้ ChatGPT4 เพื่อให้บริการลูกค้าแทนแผนก Customer Service ในเบื้องต้นได้

ความเสี่ยงในการใช้ Generative AI และ ChatGPT4 ที่ควรระวัง

  • Data bias: Generative AI นั้นทำงานด้วยการฝึกฝนกับชุดข้อมูลขนาดใหญ่ หากกลุ่มข้อมูลมีความโน้มเอียงไปในทิศทางใดมากไป ผลลัพท์ที่ได้ก็จะโน้มเอียงไปในทิศทางนั้น ซึ่งนำไปสู่การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่ม User บางกลุ่ม
  • Fake news and disinformation: Generative AI อาจจะสร้างข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือนได้ ซึ่งอาจถูกใช้เพื่อโน้มน้าวความคิดเห็นของผู้คน จนกลายเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้
  • Cybersecurity risks: โมเดล Generative AI เป็นเสมือนดาบสองคม ที่อาจถูกใช้สร้างซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย เช่น ไวรัสและม้าโทรจัน เพื่อทำร้ายธุรกิจหรือบุคคลได้

นี่เป็นเพียงการยกตัวอย่างในการนำ Generative AI, ChatGPT4 และนำเสนอข้อดีข้อเสียมาเพื่อใช้งานในอีคอมเมิร์ซยุคใหม่แบบ B2B2C ซึ่งการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นทุกวันก็จะช่วยก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆให้กับวงการอีคอมเมิร์ซที่น่าติดตามอีกมากมาย หากมีเทคโนโลยีที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง เราจะกลับมา Update ให้ทุกท่านได้ทราบกันอย่างแน่นอน

 

ติดตามข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของเราได้ที่ช่องทาง Facebook FanpageLinkedin หรือดูข้อมูลและติดต่อรับคำปรึกษาได้ที่เว็บไซต์ของเรา

AI ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมไอทีอย่างไรบ้าง

ไม่ว่าจะหันไปทางไหน เราก็จะพบ AI อยู่รายล้อมในชีวิตประจำวันเราอยู่แทบจะในทุกอุตสาหกรรมแล้ว ด้วยความก้าวหน้าทั้งในเชิงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการใช้งาน AI จึงมีนำเอา AI มาใช้เป็นโซลูชั่นต่างๆเพื่อตอบโจทย์และต่อยอดให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสายงานด้าน IT ที่มักจะได้ใช้ประโยชน์โดยตรงจาก AI ในหลากหลายแง่มุม ซึ่งบทความนี้จะยกเอาตัวอย่างกรณีเด่นมาในการใช้ AI ในสาย IT มา 4 ส่วน หลักๆ ด้วยกัน ดังนี้

1. การพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development)

ด้วยความสามารถด้านการประมวลข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ AI ถูกนำมาช่วยในการพัฒนาซอฟต์แวร์ในหลายๆ ด้าน ดังที่เห็นได้อย่างแพร่หลายและชัดเจนที่สุดก็คือ ChatGPT ซึ่งเป็นระบบ Generative AI ที่ใช้โต้ตอบคำถามได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงระบบ Generative AI อื่นๆ ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทเฉพาะทางเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์มากขึ้น เช่น การ coding จากการพิมพ์ประโยคบอกเล่าอย่างละเอียด หรือการให้ AI วิเคราะห์และแนะนำวิธีการทดสอบระบบบนฐานจาก requirement การใช้งาน AI ในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ นอกจากจะทำให้การพัฒนาเร็วขึ้น หลายครั้งยังช่วยเพิ่มคุณภาพของซอฟต์แวร์ได้อีกด้วย

2. การดูแลและบำรุงระบบไอที (IT Infrastructure Monitoring and Maintenance)

ข้อมูลหลายร้อยเทราไบต์ ที่ทำงานประสานกันอย่างซับซ้อนในระบบนำทางอย่าง Google Maps, การสั่งอาหารผ่านแอป รวมถึงการจัดการด้านการเงินผ่านระบบธนาคารในระบบ นั้นต้องดูแลรักษาระบบดังกล่าวเพื่อการใช้งานที่เต็มประสิทธิภาพอยู่เสมอเพราะผลกระทบจากการขัดข้องของระบบจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ใช้นับล้านราย ซึ่งเป็นอีกบทบาทหนึ่งของ AI ที่เข้ามาช่วยวิศวกรดูแลรักษาระบบ ในการวิเคราะห์ความผิดปกติ (anomaly) จากรูปแบบข้อมูลและตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่รวดเร็ว จึงช่วยลดโอกาสที่ระบบจะขัดข้องก่อนที่ผู้ใช้งานจะได้ผลกระทบ ซึ่งการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ AI ในระยะหลัง ทำให้การวิเคราะห์ปัญหาทำได้แม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น แล้วช่วยลดเหตุการณ์ Downtime ได้เป็นอย่างดี

3. การดูแลรักษาความปลอดภัย (Cybersecurity)

ด้วยความสามารถในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ การนำ AI เข้ามาใช้ในการรักษาความปลอดภัยของระบบจึงช่วยให้นักวิเคราะห์สามารถตรวจจับรูปแบบการโจมตีในระบบ หรือคาดการณ์สถานการณ์ที่มีความเป็นไปได้ เพื่อช่วยลดช่องโหว่ก่อนที่การโจมตีจะเกิดขึ้นได้จริง

4. เครื่องมือสำหรับเพิ่มผลผลิตในการทำงาน (AI Productivity Tools)

ไม่นานหลังจากการเปิดตัวแบบสะเทือนวงการของ ChatGPT ก็เริ่มมีเครื่องมือใหม่ๆ ที่ใช้ความสามารถของ AI มากขึ้น เช่น การสรุปข้อมูลสำคัญจากการประชุม การสร้างการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงผู้ช่วยส่วนตัวที่พร้อมจะให้คำตอบจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยลดระยะเวลา ความผิดพลาด และภาระในการทำงานของ Developer ลง แต่ให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและเที่ยงตรงมากขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม AI ที่ถูกใช้งานอยู่ในปัจจุบันสำหรับสายงาน IT นั้น ยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่สามารถต่อยอดไปได้อีกมากมาย ด้วยความรวดเร็วในการทำงานที่สามารถย่นเวลาในแต่ละงานลงได้ และให้ผลลัพท์ที่แม่นยำสูง การเลือกหาและการนำ AI เข้ามาใช้งานใน Workflow ได้อย่างเหมาะสมจึงสร้างความได้เปรียบทางด้านธุรกิจของท่านได้เป็นอย่างดี หากท่านสนใจนำเอา AI เข้าไปช่วยพัฒนา Workflow ที่มีอยู่แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะช่วยในส่วนใดได้บ้างก็สามารถติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวขาญของเราได้ฟรีทันที
>>ที่นี่<<

 

ติดตามข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของเราได้ที่ช่องทาง Facebook FanpageLinkedin หรือดูข้อมูลและติดต่อรับคำปรึกษาได้ที่เว็บไซต์ของเรา

eCommerce Specialist Solution ครบวงจรสำหรับธุรกิจคุณ

WeOmni partner ด้าน eCommerce Solution ช่วยตอบโจทย์ของปัญหาได้ด้วย eCommerce Specialist ครบเครื่องทุกองค์ประกอบที่ธุรกิจต้องมีเพื่อขับเคลื่อน eCommerce ได้อย่างครบวงจรแบบมืออาชีพ โดยให้บริการครอบคลุมทุกความต้องการของ eCommerce ตั้งแต่ต้นจนจบ Process ตั้งแต่

  • ให้คำปรึกษาและร่วมวางแผน ลักษณะของระบบและโซลูชั่นที่เหมาะสมกับสินค้าและบริการของท่าน
  • Setup ระบบที่จำเป็นสำหรับการสนับสนุนการขายสินค้าและบริการ ทั้งการเตรียมสินค้าที่ต้องการขายลงในทุกแพลตฟอร์ม และผสานระบบเข้ากับผู้ให้บริการด้านโลจิสติก เป็นต้น
  • ขับเคลื่อนด้วยระบบรวมศูนย์ฯ WeOMS เพื่อดูแลจัดการออร์เดอร์ที่เข้าออกแพลตฟอร์มต่าง ๆ อย่างอัตโนมัติ ลดความซับซ้อนใน Flow งาน
  • ทีมงาน Specialist ในลักษณะงานเฉพาะด้าน ช่วยดูแลงานขายที่ต้องการความเชี่ยวชาญพิเศษ เช่น Marketing Content, SEO, Operation Support, Call Center
  • มี Warehouse & Fulfillment Center รับออร์เดอร์ต่อจากระบบ ส่งทีมแพ็คสินค้า และบริษัทส่งสินค้าถึงลูกค้าอย่าง Seemless

eCommerce Specialist ให้บริการทั้งในแบบ Solution ที่ครบวงจรแบบ End-to-End และ ยังมีการให้บริการ Service แยกเฉพาะทางที่สามารถปรับแต่งเป็นส่วนเสริมบาง Flow เพื่อรองรับความต้องการของธุรกิจคุณ เช่น คุณมีความต้องการ Specialist ดูแลแพลตฟอร์ม eCommerce ที่ท่านมีอยู่ หรือกรณีบริษัทต้องการจะสร้าง eCommerce สำหรับขายร่วมกับคู่ค้า เราก็ออกแบบให้ได้เป็นพิเศษ เพื่อตอบโจทย์กับธุรกิจในทุกรูปแบบ

หรือในบางธุรกิจไม่สามารถจัดหาหรือแผนกสำหรับงาน eCommerce เราสามารถรับงานแบบ Turnkey โดย WeOmni จะนำทีมงาน Specialist และโซลูชั่นของเราอย่าง WeOMS มาใช้ดูแลฝั่ง eCommerce ให้กิจการคุณแบบ End-to-End โดยบริษัทท่านเพียงแค่นำฝากสินค้าไว้กับเรา แล้วดูข้อดูภาพรวมผ่าน Dashboard

มั่นใจได้ว่าเราจะช่วยให้ธุรกิจท่านก้าวไปสู่โลก eCommerce ได้อย่างเป็นมืออาชีพ ลดความยุ่งยากและซับซ้อนในงาน eCommerce ลง โฟกัสกับสินค้าและบริการอย่างเต็มที่ กับ eCommerce Specialist โดย WeOmni ผู้นำด้าน One Stop Service Solution สำหรับ eCommerce ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการพัฒนาระบบให้กับธุรกิจอีคอมเมิร์ซขนาดใหญ่มากมาย หากผู้ประกอบการยังไม่รู้จะเริ่ม eCommerce สำหรับธุรกิจของท่านอย่างไรดี เรายินดีให้คำปรึกษาได้โดยติดต่อเราที่นี่

 

ติดตามข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของเราได้ที่ช่องทาง Facebook FanpageLinkedin หรือดูข้อมูลและติดต่อรับคำปรึกษาได้ที่เว็บไซต์ของเรา

Serverless vs. Containers: เจาะลึกสองแนวทางระบบคลาวด์สมัยใหม่

คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในหลากรูปแบบ โดยแบ่งออกเป็น 2 แนวทางหลักๆ คือ ไร้เซิร์ฟเวอร์ (Serverless) และคอนเทนเนอร์ (Containers) ซึ่งทั้งคู่มีข้อดีที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักพัฒนาและธุรกิจในการตัดสินใจเลือกประเภทของ Service ให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้งาน ดังนั้นบทความนี้จะช่วยเจาะลึกไปถึงข้อแตกต่าง จุดเด่น และการนำไปใช้งานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ปูพื้นฐานกันก่อน

Serverless: แม้จะแปลกันตรงๆ ว่า “ไร้เซิร์ฟเวอร์” แต่ Serverless ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีเซิร์ฟเวอร์ เพียงแต่ว่างานระบบที่เกี่ยวกับการงานของตัวเซิร์ฟเวอร์นั้น จะถูกแยกออกจากฝั่ง Developer ออกไปอย่างสิ้นเชิง โดยผู้ให้บริการระบบคลาวด์จะดูแลรับผิดชอบงานด้านระบบเซิร์ฟเวอร์ให้เอง ส่วน Developer นั้นจะโฟกัสไปที่เพียงเรื่องการพัฒนา Application ช่วยลดโหลดงานและความผิดพลาดในการจัดการเซิร์ฟเวอร์ลงได้

Containers: ให้นึกภาพว่า Application หรือ Services ของเราถูกบรรจุอยู่ในกล่องตู้คอนเทนเนอร์เล็กๆ ที่ในกล่องนั้นมีสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบอันจำเป็น (Dependency) พร้อมใช้งานร่วมกับกับระบบปฎิบัติการต่างๆได้อย่างลงตัว

ข้อดีและข้อเสียของแต่ละรูปแบบ

Serverless

ข้อดี:

ปรับการใช้งาน Server อัตโนมัติ (Auto-scaling): เพื่อให้รองรับ Load ตามฟังก์ชันงานที่เกิดขึ้นจริงโดยอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องเข้าไปปรับเปลี่ยนการตั้งค่าด้วยตนเองตลอดเวลา

ประหยัดต้นทุน (Cost-efficiency): จ่ายค่าฮาร์ดแวร์เฉพาะเท่าที่ใช้งานจริง ซึ่งมักคำนวณจากเวลา Execution ตัวงานต่อมิลลิวินาที

ไม่ต้องดูแลเซิร์ฟเวอร์เอง (No server management): Developer มุ่งเน้นไปที่การโค้ดดิ้งเพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานหรืองานฮาร์ดแวร์ของฝั่งเซิร์ฟเวอร์

ข้อด้อย: 

ความหน่วงในการเรียกใช้งาน (Cold start): อาจเกิดความล่าช้าเมื่อเรียกใช้ฟังก์ชันเมื่อไม่ได้ใช้งานชุดข้อมูลนี้ในระยะหนึ่ง ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบงานที่ต้องการตอบสนองอย่างฉับไว

การปรับแต่งที่จำกัด (Limited customization): มีอิสระในการปรับแต่งสภาพแวดล้อมรันไทม์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับคอนเทนเนอร์

เวลาในการ Execution: โดยทั่วไปแล้ว แต่ละฟังก์ชันงานจะถูกกำหนดค่าเวลาสูงสุดในการ Execution จึงไม่เหมาะสำหรับฟังก์ชันที่ต้องรันต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ

Containers

ข้อดี:

ความสม่ำเสมอตลอดการรัน (Consistency): มั่นใจได้ว่าซอฟต์แวร์จะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่ว่าคอนเทนเนอร์นั้นกำลังถูก Deploying อยู่ที่ใดก็ตาม

ไมโครเซอร์วิส (Microservices): คอนเทนเนอร์โดดเด่นในสถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิส (Microservice) ที่ออกแบบให้แต่ละ Services แยกจากกันและสามารถจัดการได้โดยไม่กระทบการทำงาน Services อื่นๆ 

ความยืดหยุ่น (Flexibility): รองรับสภาพแวดล้อมต่างๆ มากกว่าเมื่อเทียบกับแบบ Serverless

ข้อด้อย:

ความซับซ้อนในการจัดการ (Complexity): หลักการทำงานของคอนเทนเนอร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบขนาดใหญ่ มักจะมีความซับซ้อนในการจัดการมากกว่า Serverless

ค่าใช้จ่ายสูง (Overhead): คอนเทนเนอร์ต้องการทรัพยากรสูง เพื่อการทำงานอย่างราบรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับระบบที่ไม่ได้ถูกปรับแต่งมาให้เหมาะสม (Optimized)

ลักษณะการใช้งานแต่ละรูปแบบ

พิจารณาจากสถานการณ์ของธุรกิจแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ก็จะได้ลักษณะการใช้งานประมาณนี้

Serverless: เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการทำงานที่มีการเรียกใช้เป็นระยะๆ ไม่ต่อเนื่อง เช่น เมื่อผู้ใช้ทำการสั่งซื้อสินค้า ฟังก์ชันบน Serverless อาจถูกเขียนเพื่อใช้งานปรับจำนวนสินค้าในสต็อก การส่งอีเมลเพื่อยืนยัน หรือการส่งต่อคำสั่งซื้อให้ฝั่งโลจิสติกส์รับช่วงต่อ เป็นต้น

Containers: เว็บไซต์หลักในปัจจุบันมักมี Microservices หลายตัวแยกกันทำงาน ซึ่งรองรับการใช้งานแบบ Containers ได้ เช่น การจัดการผู้ใช้ (Users) ระบบแค็ตตาล็อกผลิตภัณฑ์ และเกตเวย์การชำระเงิน เพื่อมั่นใจได้ว่าจะระบบหน้าบ้านจะยังเสถียรภาพตลอดเวลา แม้หลังบ้านมีการ พัฒนา ทดสอบ และนำขึ้นใช้งานอยู่ (development, testing, production)

แล้วถ้านำทั้งสองรูปแบบใช้ร่วมกัน

ในทางปฏิบัติแล้ว หลายธุรกิจจะได้ประโยชน์จากการนำ Cloud computing ทั้งสองมาผสมผสานกันอย่างมาก เช่น 

– ใช้ Serverless สำหรับรูปแบบงานที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง มีการเรียกใช้เป็นบางครั้งคราว (Event-driven) หรือรูปแบบงานที่คาดเดาลักษณะโหลดใช้งานได้ยาก

– นำ Containers มาใช้สำหรับแอปพลิเคชันที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สามารถควบคุมได้ มีกระบวนการรันที่นาน หรือการประสานงานระหว่าง Microservice ย่อยหลาย ๆ ส่วนร่วมกัน 

สรุป

Serverless และ Containers ต่างก็มีประสิทธิภาพและจุดเด่นที่ตอบสนองความต้องการและสถานการณ์ที่แตกต่างกัน แม้ว่า Serverless จะตัดความกังวลเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานออกไป แต่ Containers ก็โดดเด่นด้วยความสม่ำเสมอและการสอดคล้องของสภาพแวดล้อมที่ไม่มีใครเทียบได้ เมื่อเข้าใจจุดแข็งและข้อจำกัดของทั้งคู่แล้ว Developer และผู้ประกอบการจะสามารถใช้ประโยชน์ของแต่ละระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือแม้แต่การทั้งสองระบบควบคู่กันได้เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีที่สุด

หากคุณกำลังตัดสินใจเลือกดูรูปแบบของคลาวด์ไปใช้งานจริง เราแนะนำว่าไม่ควรเจาะจงเลือกการใช้งานในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมากกว่าอีกแบบ แต่ควรเข้าใจลักษณะการทำงานของแต่ละรูปแบบและนำเอาจุดแข็งของแต่ละรูปแบบไปใช้งานให้ดีที่สุด

 

ติดตามข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของเราได้ที่ช่องทาง Facebook FanpageLinkedin หรือดูข้อมูลและติดต่อรับคำปรึกษาได้ที่เว็บไซต์ของเรา

WeOmni ได้ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ Techsauce Global Summit 2023 งานประชุมด้านเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พวกเรา WeOmni ได้ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ Techsauce Global Summit 2023 โดยงานนี้นอกจากจะมี Solution ทางเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ปัญหาสำหรับธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงระดับ Enterprise ในรูปแบบ End-to-End eCommerce Solution แล้ว เรายังพาทีมงานเฉพาะทางที่พร้อมให้คำปรึกษาปัญหาธุรกิจเฉพาะด้านได้ทันทีภายในงาน ทั้ง Business Consultants, PO และ Engineers ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ ที่มี Solution ดีๆ ช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ ต่อยอดความสำเร็จของธุรกิจอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน มาหาทางออกทางธุรกิจไปด้วยกันได้ที่

Booth No. M4 Exhibition Hall 3 – 4, ชั้น G ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
วันที่ 16 – 17 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 9:00 – 18:00 น.

#WeOmni #TechsauceGlobalSummit #TSGS2023 #TechSolution #StartupThailand

ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนา App ด้วย Cross Platform “Flutter”

Mobile App หนึ่งในสิ่งสำคัญของธุรกิจยุคปัจจุบัน เพราะนอกจากจะสร้างความสะดวกสบายในการเข้าถึงบริการของธุรกิจแล้ว ยังใช้สื่อสารและบ่งบอกตัวตนของบริษัทผ่าน Application แต่ด้วย Operating System ยอดนิยมในปัจจุบันที่มีทั้ง iOS และ Android ในตลาด ใช้ภาษาในการพัฒนาที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดข้อจำกัดทางด้าน Skill Set และระยะเวลาในการพัฒนา เป็นไปได้ยากด้วยข้อจำกัดที่กล่าวมา ดังนั้นการเข้ามาของ Cross Platform Coding ที่ Tech Team ของ WeOmni เชี่ยวชาญอย่าง Google Flutter นั้น จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการพัฒนา Mobile App ของทั้ง 2 Platform ให้เกิดขึ้นและสำเร็จได้ด้วยการ Coding ในที่เดียวด้วยข้อดีต่อไปนี้

  1. Coding ที่เดียวใช้ได้ทุกระบบ
    ประหยัดเวลาในการพัฒนาด้วยการ Coding บน Flutter ที่เป็น Framework กลางในการพัฒนา App ข้ามแพลตฟอร์ม ที่สามารถปรับแต่ง Code ให้ใช้งานได้กับแพลตฟอร์มที่ต่างกันได้เต็มประสิทธิภาพ รองรับเข้ากันได้ทั้ง iOS และ Android ทำให้ผลักดัน Application ออกสู่ตลาดได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  2. ประหยัดเวลาในการพัฒนา
    พัฒนา App ที่ Framework หลักที่เดียว แต่สามารถปรับ Coding เพียงเล็กน้อยเพื่อให้รองรับเข้ากันได้ทั้ง iOS และ Android ทำให้ผลักดัน Application ออกสู่ตลาดได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  3. ลดต้นทุนในการพัฒนา
    ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนทางตรงอย่างค่าจ้าง Developer หรือทางอ้อมอย่างค่าเสียเวลาและค่าเสียโอกาส ก็ลดต่ำลงได้ด้วยการพัฒนาระบบเพียงครั้งเดียวบน Framework กลางของ Flutter
  4. ต่อยอดสู่ Platform อื่นได้ง่าย
    Google Flutter นั้นถูกออกแบบมาให้เป็น Multi-Platform ที่นอกเหนือจาก Mobile Platform อย่าง iOS และ Android แล้ว Platform อื่นๆอย่าง Windows, Mac OS, Web OS หรือแม้กระทั่ง Linux ก็สามารถพัฒนาต่อยอดจาก Flutter ได้อย่างลงตัว

ด้วยข้อดีทั้งหมดที่กล่าวมานี้ Cross Platform Coding จึงเป็นวิวัฒนการทางด้าน Coding ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในด้านการประหยัดต้นทุน, เวลา และ Skill Set ในการพัฒนา Mobile App หลากหลาย Platform รวมไปถึงการต่อยอดไปสู่ Platform อื่นๆที่สามารถทำได้ด้วยการปรับ Coding เพียงเล็กน้อย ซึ่ง WeOmni คือหนึ่งในบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Cross Platform Coding ที่มีประสบการณ์และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในความสำเร็จจาก Mobile Application ของธุรกิจขนาดใหญ่มากมาย เช่น Lotus’s Smart App ที่มียอด Download สูงถึง 6 ล้าน Download, True Smart Merchant ที่มียอด Merchant เข้ามาใช้งานกว่า 5 แสน User ในระบบ รวมถึง Altervim ซึ่งเป็น Application ชาร์จรถด้วยพลังงานไฟฟ้าที่มียอด Download กว่า 3,000 User ภายใน 1 เดือนแรก โดยไม่พบปัญหาในการใช้งาน Application แม้แต่รายเดียว ให้ WeOmni เป็นส่วนช่วยให้ธุรกิจของคุณก้าวไปข้างหน้าอย่าง มั่นคง รวดเร็ว และยั่งยืน

 

ติดตามข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของเราได้ที่ช่องทาง Facebook FanpageLinkedin หรือดูข้อมูลและติดต่อรับคำปรึกษาได้ที่เว็บไซต์ของเรา

บริการ End-to-End Cloud Consulting ครบวงจรด้าน Cloud Services

WeOmni ให้บริการ End-to-End Cloud Consulting ที่จะช่วยให้บริษัทคุณใช้งาน Cloud Services ได้อย่างมีประสิทธิภาพในราคาที่เหมาะสมที่สุด ตั้งแต่การ ตรวจสอบ ประเมิน ให้คำปรึกษา และปรับแต่ง เพื่อมอบประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีที่สุดแก่ผู้ใช้งาน ใน Budget ที่คุ้มค่ากับการใช้งานจริง

ทีม DevOps ที่พร้อมตรวจสอบและประเมินระบบ (Audit and Consulting) ไม่ว่าจะเป็นระบบ On Premise หรือ On Cloud สำหรับ Infrastructure เดิมที่อยู่เพื่อให้การใช้งานราบรื่นที่สุด และยังมาพร้อมกับ Solution ในการตรวจดูและปรับปรุง (Monitoring and Optimization) ลดปัญหา Performance Drop และ Cost Leakage ของ Server ที่มากเกินความจำเป็นได้ ด้วยประสบการณ์ในการ Optimize Cloud Server ให้กับบริษัทชั้นนำมากมายที่สามารถช่วยลด Cost ได้กว่า 30% และการใช้งานระบบ Auto Scaling ที่พร้อมปรับเปลี่ยน Performace ในการทำงาน ให้เหมาะกับการใช้งานของลูกค้าแบบอัตโนมัติ และรองรับสำหรับการขยายตัวของฟีเจอร์ใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตด้วย effort เพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย

รองรับการทำงานร่วมกับ Cloud ชั้นนำหลากหลายบริการ ทั้ง AWS, Azure, GCP, True IDC ฯลฯ ก็พร้อมให้คำปรึกษาทั้งในรูปแบบ Project ชั่วคราวและบริการดูแลระบบอย่างครบวงจร ตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบระบบไปจนถึงการดูแลระบบและการให้บริการหลังการขาย ให้ WeOmni เป็น Partner Solution ของคุณได้ทันที !

ขอรับคำปรึกษาฟรี คลิก

 

ติดตามข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของเราได้ที่ช่องทาง Facebook Fanpage, Linkedin หรือดูข้อมูลและติดต่อรับคำปรึกษาได้ที่เว็บไซต์ของเรา